🔊 อุปนายกสมาคมฯ ร่วมประชุมเชิงวิชาการ การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารตลาดสด
🗓 เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา คุณทรงยศ ภารดี อุปนายกสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ตามคำเชิญจาก กรมอนามัย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
👉 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย อาทิ: -
- นายสมชาย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
- นายชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
- นายตวงสิทธิ์ วิมุกตายน นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
- คุณทรงยศ ภารดี อุปนายกสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย
- ผศ.ดร.ประพันธ์ พงษ์เกียรติกุล สมาคมส่งเสริมคุณภาพอากาศในอาคาร
- ผศ.ดร.ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บ. อินโนเวทีฟ อินสตรูเม้นต์ จำกัด
- นส. สิริวรรณ จันทนจุลกะ นักวิชาการสาธารณะสุขทรงคุณวุฒิ
1️⃣ วัตถุประสงค์การประชุม
• เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารตลาดสด
• เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารตลาดสด ทั้งที่มีในปัจจุบันและตลาดสดที่จะก่อสร้างใหม่
2️⃣ ประเด็นที่หารือ
• พบว่ามีการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในตลาดสดหลายหลายแห่ง
• เนื่องจากตลาดสดเป็นพื้นที่เปิดจะมีการระบายอากาศอย่างไร
• นอกจาก โควิด-19 แล้วสุขอนามัยในตลาดสดของประเทศไทยมักไม่ค่อยดี ทั้งในด้านของอากาศและน้ำเสีย
ทางกรมอนามัยอยากพัฒนามาตรฐานสุขอนามัยในตลาดสดให้ดีขึ้น
3️⃣ ข้อสรุปเบื้องต้นจากที่ประชุม
• เนื่องจากตลาดสดมีขนาดใหญ่ และเป็นพื้นที่เปิด การระบายอากาศ โดยวิธีกลเพื่อแก้ปัญหา โควิด-19 อาจทำได้ยากสิ้นเปลืองงบประมาณและค่าไฟ
• สำหรับการแก้ปัญหา โควิด-19 พิจารณาระบายอากาศโดยธรรมชาติ โดยมีพื้นที่เปิดขนาดที่เหมาะสม (ทางสมาคมส่งเสริมคุณภาพอากาศจะลองไปทำ Simulation ดู) ควบคู่กับการใช้ personal protection (mask) และ social distancing
• ในกรณีที่อาคารมีขนาดใหญ่มาก บริเวณกลางอาคารที่อากาศไม่เคลื่อนไหว อาจพิจารณาการระบายอากาศทางกลมาเสริม
4️⃣ แนวทางการปรับปรุงคุณภาพสุขอนามัย เรื่องคุณภาพอากาศในตลาดสด
• จัดโซนนิ่งที่เหมาะสม(ไม่ปะปนกันเหมือนปัจจุบัน) แยกพื้นที่ แต่ละประเภทให้ชัดเจน (อาหารสด, อาหารแห้ง, ผลไม้, ร้านที่มีครัวปรุงอาหาร เป็นต้น) เพื่อแยกการระบายอากาศ และน้ำเสียและดูทิศทางการไหลของอากาศและน้ำเสียได้ง่ายขึ้น
• ส่วนของครัวอาจต้องมีพัดลมระบายอากาศที่เหมาะสม
• อาจลองทำ Pilot project แล้วทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศในตลาดสด