🔊 ผู้แทนสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมสมาพันธ์การปรับอากาศและทำความเย็นไทย
 
🗓 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ดร.รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล ประธานสมาพันธ์การปรับอากาศและทำความเย็นไทย เชิญคณะกรรมการประชุมประจำเดือนเมษายน 2565
 
🧾 ผู้แทนสมาคมฯ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย
1. คุณชัยชาญ อึ๊งศรีวงศ์ กรรมการที่ปรึกษาสมาคมฯ
2. คุณอรุณ เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมฯ
3. คุณนิรัญ ชยางศุ ประชาสัมพันธ์สมาคมฯ
4. คุณสุธี วงศ์ไทย (ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพงานปรับอากาศและทำความเย็น สมาพันธ์ฯ)
 
โดยที่ประชุมได้ติดตาม และรายงานความคืบหน้าส่วนงานต่างๆ อาทิ: -
 
1.1 อนุกรรมการมาตรฐานงานระบบปรับอากาศและทำความเย็น (คุณชัยชาญ)
 1.1.1 “คู่มือการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดสามารถทำความเย็นได้ไม่เกิน 5 ตันความเย็น”
 อยู่ระหว่างทบทวน...
 บทที่ 2. อุปกรณ์ในการทําความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
 บทที่ 3 การจัดวางตำแหน่งเครื่องส่งลมเย็นและเครื่องระบายความร้อน
 บทที่ 4 ท่อสารทำความเย็น ท่อน้ำทิ้งและฉนวนหุ้มท่อ
  บทที่ 5 งานไฟฟ้ากําลังและไฟฟ้าควบคุมระบบปรับอากาศ
 บทที่ 6 การทำสุญญากาศ และเติมสารทำความเย็นเข้าสู่เครื่องปรับอากาศ
 
1.1.2 “มาตรฐานการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบระบบปรับปริมาณน้ำยาอัตโนมัติ”
- อยู่ระหว่างทบทวน+เลือกใช้ข้อกำหนดมาตรฐานท่อทองแดงเพียงมาตรฐานเดียว (ASTM B280)
- หารือที่ประชุม ACAT เห็นชอบให้บุคคลทั่วไปดาวน์โหลดใช้ได้ฟรี
- อนุกรรมการฯ จะประชุมเพื่อสรุปอีกครั้ง 6 พฤษภาคม 2565
 
1.2 อนุกรรมการ พัฒนาและส่งเสริมความรู้วิชาการงานปรับอากาศและทำความเย็น (อ.พลกฤต)
ประธานอนุฯ อ.พลกฤต สรุปประเด็นหารือกับ อ.ทวีศักดิ์ ทราบว่าวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม มี 2 บทบาท 
 
1. เป็นคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรอ.อศ.) กลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา
 
2. ศูนย์บริหารเครือข่ายกำลังคนทางด้านเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) ดูแลอาชีวะทั้งประเทศที่สอนวิชาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ มีหน้าที่จัดฝึกอบรม พัฒนาครู สนับสนุนการเรียนการสอน หาสื่อ และมีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น มีทั้งส่วนของนักศึกษา ประชาชนทั่วไป สถานประกอบการ
 
คณะอนุฯ ประสานขอเข้าเยี่ยมชมศูนย์ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก
ในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565 ระหว่างเวลา 13:00 – 15:00น.
 
คุณพิสิฐชัย รายงานโครงการ Thai TAB (หลักสูตรอบรมวิชาชีพวิศวกรปรับแต่งระบบน้ำ รุ่นที่ 1), เป็นความร่วมมือระหว่าง ACAT กับ TEMCA
• อบรมวันที่ 23 และวันที่ 30 เมษายน 2565 ผ่านระบบ zoom ทั้งภาคทฤษฎี (นัดสอบวันที่ 15 พค 13:00-16:00น) และภาคปฏิบัติ (เมื่อสอบภาคทฤษฎีผ่าน จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบภาคปฏิบัติ โดยสถานที่ทดสอบ จะทดสอบกันที่หน่วยงานติดตั้งจริง ที่ผู้เข้าอบรมเสนอเข้ามา ผู้เข้าอบรมรวม 45 คน ใช้โครงการทดสอบภาคปฏิบัติทั้งหมด 9 โครงการ)
 
ผู้ที่สอบผ่าน จะได้รับใบรับรองความรู้ความเข้าใจในการปรับแต่งระบบน้ำ 2 แบบ ทั้งในนามส่วนบุคคลและในนามบริษัท (พร้อมคู่มือ 1 ชุด)
 
สำหรับหลักสูตรวิชาชีพวิศวกรปรับแต่งระบบลม: ด้านวิทยากร และเอกสาร พร้อมดำเนินการ อยู่ระหว่างกำหนดระยะเวลาเริ่มโครงการ (คาดว่าประมาณ กค - สค)
 
สถานที่ทดสอบปรับแต่งระบบลม: ได้สร้าง work shop จริง โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก Daikins (สนง.อ่อนนุช)
 
1.3 อนุกรรมการ พัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพงานปรับอากาศและทำความเย็น (คุณสุธี)
 
1.3.1 ความคืบหน้าคลิปวีดีโอ “จ้างช่างล้างแอร์ ต้องเติมน้ำยาแอร์หรือไม่”
ที่ประชุมเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนโลโก้ 7 องค์กร เป็นโลโก้สมาพันธ์ฯ (อยู่ระหว่างการดำเนินการ)
 
1.3.2 ที่ประชุมเสนอให้พิจารณาทำคลิปเรื่อง “ค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเติมน้ำยาแอร์ที่เหมาะสม ควรเป็นเท่าใด”
โดยผู้แทน TATA จะนำแนวคิดที่ TATA ใช้อยู่มานำเสนอที่ประชุมพิจารณา (ช่างทั่วไปคิดปอนด์ความดัน vs ปอนด์น้ำหนักตามที่ควรจะเป็น)
 
1.3.3 เรื่อง การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับท่อลมความดันต่ำ (Low Pressure Duct System)
คุณสรพงษ์ ส่งคลิปมา รีวิว เบื้องต้น ที่ประชุมให้ความเห็นไว้ดังนี้: -
1. อยากให้มีคลิป หรือ animation แสดงให้เห็น ว่าลูกกลิ้งทำงานยังไง ถึงได้ตะเข็บออกมา (เดิมเห็นแค่แผ่นสังกะสีวิ่งเข้าเครื่อง แล้วออกมาเป็นตะเข็บเลย)
 
2. ที่ประชุมคณะอนุฯ เห็นชอบที่จะหา video house มาช่วยทำคลิปให้สวยงาม (จะดำเนินการของบประมาณจากที่ประชุมสมาพันธ์ฯ อีกครั้ง)
 
✳️ เกี่ยวกับสมาพันธ์การปรับอากาศและทำความเย็นไทย
 
สมาพันธ์การปรับอากาศและทำความเย็นไทย (สปย.) เกิดขึ้นจากดำริของผู้บริหารสมาคมเครือข่ายการปรับอากาศและการทำความเย็น ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของไทยไปในทิศทางเดียวกัน จึงเชิญชวนสมาคมที่เกี่ยวข้องกับงานเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นในไทย มาหารือการดำเนินงานร่วมกัน และได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันในนาม “สมาพันธ์การปรับอากาศและทำความเย็นไทย” รวม 7 องค์กร ประกอบด้วย
1. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. สมาคมเครื่องทำความเย็นไทย
3. สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย
4. ASHRAE Thailand Chapter
5. สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย
6. สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย
7. สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
 
และภายหลังการประชุมหารือร่วม 7 องค์กร ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์ฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ของสมาพันธ์ฯ ไว้ดังนี้
 
Vision
เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนทิศทางงานปรับอากาศและทำความเย็นของประเทศไทย
 
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1. กำหนดมาตรฐานทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบปรับอากาศและทำความเย็น และผลักดันให้เป็นมาตรฐานแห่งชาติ
2. พัฒนาและส่งเสริมให้ความรู้ทางด้านวิชาการงานปรับอากาศและทำความเย็น
3. พัฒนาบุคลากรงานปรับอากาศและทำความเย็น
4. เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล และประสานงานกับภาครัฐ
 
รายนามประธานสมาพันธ์วาระต่างๆ
1. ปี 2563: คุณอรุณ เอี่ยมสุรีย์
2. ปี 2564: คุณศิริ เตชะลปนรัศมี
3. ปี 2565: ดร.รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล (วาระปัจจุบัน)